กระทรวงวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และร่วมมือกับสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (Thai Animation & Computer Graphics Association - TACGA) ในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ผลิต content สำหรับให้ความรู้เรื่อง Covid-19 ในช่วง lock down
การเล่าเรื่อง (Storytelling) นับเป็นการสื่อสารที่เก่าแก่อยู่คู่กับสังคมมนุษย์มายาวนาน ตั้งแต่ภาพวาดในถ้ำในยุคก่อนประวัติศาสตร์ (30,000 BC) ไล่เรียงมาถึงตำนานเทพเจ้าของกรีก (1,000 BC) มาถึงภาพวาดที่เล่าเรื่องของมนุษย์เรื่องแรก "Epic of Gilgamesh".. เรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิ้ล.. เทพนิยาย.. หนังสือพิมพ์.. จนถึงยุคที่กล้องถ่ายรูปถูกประดิษฐ์ขึ้น ก็มีการปรับเป็นการเขียนที่มีรูปถ่ายประกอบ.. ทั้งนิตยสาร วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ต่อเนื่องเปลี่ยนผ่านจากภาพนิ่งกลายมาเป็นภาพเคลื่อนไหว ทั้งภาพยนตร์.. รายการโทรทัศน์.. animations.. webtoon และอื่นๆ
"อะไร" ที่ทำให้การเล่าเรื่องกลายเป็นศาสตร์ที่ดึงดูดใจให้ผู้รับ 'อยาก'ที่จะอ่าน ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือวิธีการในการสื่อสาร แต่โดยหลักการแล้ว การเล่าเรื่องยังคงเหมือนเดิม เป็นการผสมผสานเรื่องราวของสิ่งที่ต้องการจะสื่อ สร้างเป็นเนื้อเรื่องผ่านตัวละครหลากรูปหลายแบบ ที่ถูกสร้างขึ้นโดยการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เข้ากับจินตนาการของผู้เล่า/เขียน ดึงให้ผู้ชมเข้าสู่โลกของเรื่องราวนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสุข ทุกข์ ความสนุกสนานตื่นเต้น ซึ่งเมื่อเนื้อหาเหล่านั้นถูกถ่ายทอดจากผู้เขียนถึงผู้รับอย่างลื่นไหล ผู้อ่านหรือผู้ชมซึ่งชื่นชอบกับเรื่องราวเหล่านั้น อาจอ่านซ้ำ อาจเล่าต่อ หรือในยุค social media ก็อาจ share ต่อกันไปได้อีกอย่างมากมายจนนับไม่ถ้วน
องค์ประกอบสำคัญของการเล่าเรื่อง นอกจากเนื้อเรื่องที่น่าสนใจชวนให้ติดตามแล้ว ตัวละคร หรือ character ที่อยู่ในเรื่อง ก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญ รวมไปถึง art direction ที่ใช้ในการเล่าเรื่องด้วย และเมื่อมองย้อนกลับไปในช่วงปี ค.ศ. 1910s โลกเริ่มมีการผลิต animation ที่วาดด้วยมือขึ้นเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น animation ก็ถูกสร้างออกมาเรื่อยๆ จนถึงปี ค.ศ.1928 คาแรคเตอร์ Mickey Mouse จาก Walter Elias Disney ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น และในช่วงเวลาต่อมาโลกก็ได้เห็นคาแรคเตอร์ ที่โดดเด่น สร้างความชื่นชอบให้กับผู้คนในแต่ละยุคแต่ละสมัยอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Popeye, Donald Duck, Superman, Bugs Bunny, Tom and Jerry, Snoopy, Fred Flintstone, Spider-Man, Iron Man, โดราเอมอน, Scooby-Doo, Hello Kitty, Mario, The Simpsons, Beavis and Butt-Head, Pikachu, Peppa Pig, Rilakkuma และอีกมามายนับไม่ถ้วน ทั้งจากการสร้างสรรค์ของผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมถึงเอเชีย โดยมีญี่ปุ่นเป็นผู้นำในด้านนี้มาโดยตลอด ซึ่งบรรดาคาแรคเตอร์เหล่านั้นก็ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาสร้างความนิยมในประเทศไทยด้วยเช่นกัน และกลายเป็นว่า คาแรคเตอร์ที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้ในการผลิต merchandising หรือใช้ในสื่อต่างๆ ในประเทศไทย ก็มักจะเป็นคาแรคเตอร์จากต่างประเทศแทบจะทั้งนั้น
คำถามมีอยู่ว่า แล้วคาแรคเตอร์ของไทยเองล่ะ มีไหม...
จริงๆ แล้วมีคาแรคเตอร์ที่สร้างสรรค์โดยคนไทยที่เปิดตัวและเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศมานานแล้ว อาทิเช่น ศุขเล็ก จากการ์ตูนชุดขบวนการแก้จน ที่เขียนโดย ประยูร จรรยาวงษ์ นักเขียนการ์ตูนไทยที่ได้สร้างผลงานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939, ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ของ ชัย ราชวัตร ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐครั้งแรก ค.ศ. 1979, ปีเดียวกับที่ animation เรื่องแรกของไทย "สุดสาคร" ของครูปยุต เงากระจ่าง ออกมาสู่สายตาคไทย, “ปังปอนด์” จากหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะที่ถูกสร้างออกมาในปี 1989 ก่อนที่จะถูกนำมาผลิตเป็น animation ในปี 2002, Unsleep Sheep และ Bloddy bunny แกะตาปรือกับกระต่ายโหดที่ถือกำเนิดในปี 2004 นับเป็นคาแรคเตอร์ไทยตัวแรกๆที่ถูกนำมาผลิตเป็น merchandising เต็มรูปแบบ, ก้านกล้วย คาแรคเตอร์ที่มาพร้อมกับ animation ในปี 2006, ชูชีพ หรือที่เป็นรู้จักกันในนาม แกะเหลือง ที่มี followers กว่า 200,000 คน เคยได้รับเชิญไป collaborate ในงานเทศกาลตรุษจีนที่ฮ่องกงในปี 2015, ติดลมห้อยเวหา คาแรกเตอร์ควายไทย ที่เป็นที่รู้จักกันจากสติกเกอร์ไลน์ของคนไทยชุดแรกๆ ตั้งแต่ปี 2014 ได้รับรางวัลจากเวที Asean Character Awards จากประเทศญึ่ปุ่นเมื่อปี 2016, Blink Blink ซึ่งได้รับเลือกเป็น official character ของธนาคารกรุงเทพตั้งแต่ปี 2015, หนุมานและทศกัณฐ์ ไทยรามเกียรติ์คาแรคเตอร์ แบรนด์สินค้าที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ มีดีไซน์น่ารักถูกใจทั้งคนไทยและคนต่างชาติ วางจำหน่ายที่สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองตั้งแต่ปี 2016, Majory นักท่องอวกาศจากต่างดาว ที่ได้รับรางวัล IP Champion ด้านทรัพย์สินทางปัญญาดีเด่น สาขาลิขสิทธิ์ปี 2018 มีสินค้าลิขสิทธิ์วางขายทั้งในประเทศไทย ไต้หวัน และฮ่องกง, Warbie Yama นกสีเหลืองจอมกวน และคุณลุงยามะ คาแรคเตอร์จาก Short film animation 2008 ที่ได้รับรางวัลระดับสากล มาเป็น Line sticker ในปี 2015 ติดอันดับ top ten ใน ไทย ไต้หวัน อินโดนีเซีย รวมถึงออกเป็น merchandise และบัตรรถไฟ iCash ในไต้หวัน, และยังมี คาแรคเตอร์ไทยอื่นๆ อีกหลายตัวที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยอาร์ติสรุ่นใหม่ๆ อาทิ Nuts so mond' ster แก๊งมอนสเตอร์ตามล่าถั่ว, Rudolph the Awesome หมาสายดาร์ค, mimi สาวหน้าวีนที่มีคอลเลคชั่นเสื้อผ้าเป็นของตัวเอง, ฯลฯ
ข้อสังเกตที่่น่าสนใจคือ หลายๆ คาแรคเตอร์ของไทยเหล่านั้น เป็นที่นิยมชื่นชมในตลาดต่างประเทศมากกว่าตลาดในประเทศ และหลายๆคาแรคเตอร์ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นคาแรคเตอร์ของต่างประเทศ ที่ผ่านมาการนำคาแรคเตอร์ไทยมาใช้ในสื่อหรือนำมาผลิตเป็นสินค้ายังจำกัดอยู่ในวงแคบๆ ผู้ประกอบการไทยจำนวนมากยังคงมีความเชื่อว่าคาแรคเตอร์ต่างชาติน่าจะเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่า ขายได้แน่นอนกว่า ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐเองก็เริ่มเล็งเห็นศักยภาพและแนวโน้มการเติบโตของคาแรคเตอร์ไทย ซึ่งมีคุณภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มให้การสนับสนุนและผลักดันให้กลุ่มคาแรคเตอร์ไทยได้ออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ แต่ในทางตรงกันข้ามคาแรคเตอร์ไทยยังคงไม่ได้รับการสนใจและสนับสนุนจากภาคเอกชนเท่าที่ควร
ล่าสุดในช่วงที่ทั่วโลกต้องเผชิญกับวิกฤติ Covid-19 สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ คือการให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องของเชื้อไวรัสนี้ให้กับประชาชน ทั้งสาเหตุการเกิดโรค วิธีปฏิบัติตนของประชาชนในช่วง lock down การดูแลด้านจิตใจของทั้งตัวเองและคนรอบตัว รวมถึงข้อมูลที่จะให้ประโยชน์ ไม่ให้ตื่นตูมแต่ต้องตื่นตัว เราจะสร้าง content ขึ้นมาเผยแพร่ให้ดีโดนใจผู้รับได้อย่างไร content แบบไหนที่จะสามารถโผล่พ้นขึ้นมาจากคลื่นข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถาโถมเข้าใส่เราตลอดเวลาจากสื่อต่างๆรอบตัว ดังที่ได้เกริ่นตอนต้นว่า Storytelling หรือการเล่าเรื่องเป็นหนึ่งในวิธีการสื่อสารที่ได้ผลดีที่สุดมาโดยตลอด การนำข้อมูลเนื้อหาที่สำคัญ ใหม่ และมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก แถมต้องเอามารวมกับสิ่งที่ต้องการสื่อสารออกไปถึงวิธีที่ประชาชนควรปฏิบัติ
ซึ่งเรื่องที่น่าชื่นชมก็คือ หน่วยงานภาครัฐโดยกระทรวงวัฒนธรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ และร่วมมือกับสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ไทย (Thai Animation & Computer Graphics Association - TACGA) ในการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ผลิต content สำหรับให้ความรู้เรื่อง Covid-19 ในช่วง lock down ที่ประจวบเหมาะวนมาชนกับเทศกาลสงกรานต์ของไทย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คนไทยทั้งประเทศจะต้อง เดินทางกลับบ้านไปหาครอบครัว ไปแสดงความเคารพญาติผู้ใหญ่ ในฐานะผู้ผลิตสื่อเราจะสื่อข้อความที่ขัดแย้งกับสิ่งที่เป็นปกติของประชาชนอย่างไรให้ยังคงความน่ารัก น่าอ่าน น่าแชร์ และเป็นที่มาของ short animations 11 เรื่อง และ Comic 10 ตอน ดังนี้
Short Animations:
สงกรานต๋ ๒๕๖๓ ๔ ไม่ ๓ ทำ สงกรานต์ปลอดโรค : Tomogram
สู้แบบไทย ต้านภัย Covid-19 : Human Farm
ความฝันเมื่อวันวาน (แนวคิด การพัฒนาตัวเองช่วง Lock down) : วิธิตา แอนิเมชชั่น
หรือสงกรานต์ปีนี้ไทซันจะไม่มีงานวันเกิด : วิธิตา แอนิเมชั่น
การมองโลกในแง่บวก ลดการ Panic : Atapy
My Hero : ดีไซน์ คิท
หยุดแพร่ : Big Brain
เจ้าจุก : เซอเรียลสตุดิโอ
“ลอย” เด็กชายหัวเกาลัด กับ แมลงสาบ : ทีละเฟรม
เรามาเล่นในบ้านกันเถอะ "วาดรูปบ้านยิ้ม" : Peek A Boo Animation
Work from home, Safe for you : DM
https://www.youtube.com/playlist?list=PLTm764EhTYBJA5vPda4zYIL6f1FWKNLQb
Comics:
โซเชียลพิพากษา ตอนอย่ามา Lock down ความฝันฉันนะ! : พูนิก้า
การิน JR เดย์ไลท์ ตอนรอแม่ออกเวร : พูนิก้า
วงกต เรื่องเฮี้ยนหลังห้อง ตอนSocial Distancing : พูนิก้า
หน้ากากหายไปไหน ? : Sweet Summer
HANUMAN ตอน Covid-19 โดดเดี่ยวแต่ไม่เดียวดาย - Work Form Home : Holen
Rudolph the Awesome ตอน มุมบวกของ Covid-19 : Xhabition
ชูชีพ คอมมิค ตอนใจเค้า ใจเรา อะไรช่วยได้ก็ช่วยกัน : Liffolab
ชูชีพ คอมมิค ตอนเป็น ไม่เป็น : Liffolab
ชูชีพ คอมมิค ตอนโดนมาเป็นชุด จะทรุดแล้วจ้า : Liffolab
ชูชีพ คอมมิค ตอนสงกรานต์นี้ กักตัวหรือกลับบ้าน : Liffolab
บทความโดย
อรมดี ปุรผาติ
กรรมการและปฏิคมสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย