news
“สภาดิจิทัลฯ” จัดประชุมออนไลน์คณะกรรมการ ถกข้อคิดเห็นต่อร่างกฎหมายลําดับรองกลุ่มที่ 3 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มุ่งยกระดับหลักเกณฑ์นโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล
14 Sep 2021

f3c43e536277468f8b93f38942a18931 
14 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา  สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย นำโดย ม.ร.ว.นงคราญ ชมพูนุท รองประธานและประธานพันธกิจด้านพัฒนาสังคมดิจิทัล สภาดิจิทัลฯ  จัดประชุมออนไลน์คณะกรรมการและสมาชิกสภาฯ ร่วมถกข้อคิดเห็นต่อประเด็นร่างกฎหมายลําดับรองกลุ่มที่ 3 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  มุ่งรวบรวมข้อคิดเห็นจากการประชุมนี้นำเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อนำไปพิจารณาในการจัดทํากฎหมายลําดับรองและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติฯ ที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล นำไปสู่การวางพื้นฐานด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไปในอนาคต

 cb5c831b881c484f974c508fa5340473 

ทั้งนี้ การรับฟังความคิดเห็นครอบคลุมประเด็นร่างกฎหมายลำดับรองกลุ่ม 3 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เช่น  1) ข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล    2) การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลปฏิเสธการถูกตัดสินใจโดยใช้กระบวนการอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว    3) มาตรฐานและการรับรองด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล     4) ความร่วมมือกับคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ      5) การแต่งตั้ง และการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ และที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

 0f44c4f7742148309f17f5738f9b0123 

การประชุมระดมข้อคิดเห็นครั้งนี้ ได้มีการสรุปรายละเอียดข้อคิดเห็นจากกรรมการและสมาชิกสภาดิจิทัลฯ ถึงประเด็นร่างกฎหมายลําดับรองกลุ่มที่ 3 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้แก่ การกำหนดให้องค์กรต่าง ๆ สามารถจัดทำ Code of Conduct เพื่อให้สมาชิกขององค์กร สามารถปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง, การจัดทำข้อมูล Code of Conduct จากภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนนำไปใช้ในแต่ละธุรกิจได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น, การกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย (ราคากลาง) สำหรับการให้บริการรับรองมาตรฐาน เพื่อไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับภาคเอกชน โดยค่าใช้จ่ายสำหรับการรับรองมาตรฐานไม่ควรสูงจนเกินไป เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงบริการได้ และการรับรองมาตรฐานควรมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง, การจัดทำประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือการประมวลผลที่มีความเสี่ยงสูงให้มีความชัดเจนมากขึ้น และการจัดตั้งคณะทำงานในการดำเนินการความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อไป เป็นต้น

 6ccddeea670944428ff1defb1f1f52b7 

“กฎหมายลําดับรองและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น Data Processor ที่จะต้องเข้ามาดำเนินการเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยกระทรวงดีอีเอสได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายลําดับรองกลุ่มที่ 3 เพื่อเตรียมการจัดทําร่างกฎหมายลําดับรองฉบับดังกล่าว และเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องต่อไป”  ม.ร.ว.นงคราญ ชมพูนุท รองประธานและประธานพันธกิจด้านพัฒนาสังคมดิจิทัล สภาดิจิทัลฯ กล่าวในตอนท้ายการประชุม


07d1730392a5475c8e83fa163a263996


bd5196153fbf4b8b8d6eaefb064ddf40