news
กมธ. ไอซีที วุฒิสภา เยี่ยมชมสภาดิจิทัลฯ ร่วมรับฟังพร้อมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นการทำงานระหว่างภาครัฐ เอกชนและประชาชน มุ่งหวังสร้างความร่วมมืออย่างยั่งยืน
1 Dec 2021

พุธที่ 1 ธันวาคม 2564 เวลา 14.00 น.  สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย นำโดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลฯ พร้อมคณะกรรมการสภา ได้มีโอกาสต้อนรับ พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม  วุฒิสภา และคณะกว่า 39 ท่าน ในโอกาสที่ทาง กมธ. ไอซีที วุฒิสภา เดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่และการทำงานของสภาดิจิทัลฯ  พร้อมรับฟังนโยบายและทิศทางการดำเนินงานที่ผ่านมาและแผนงานในอนาคตของสภาดิจิทัลฯ  อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน การเยี่ยมชมในครั้งนี้ถือเป็นวาระสำคัญในการแลกเปลี่ยนมุมมองการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันด้านดิจิทัล การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล  ให้เกิดการประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจัลฯ กล่าวว่า “สภาดิจิทัลฯ ขอขอบคุณท่าน พลเอก อนันตพร     กาญจนรัตน์ และคณะ ที่ได้ให้เกียรติและโอกาสที่ดีในการเข้าเยี่ยมชมและร่วมรับฟังผลการดำเนินงานของสภาดิจิทัลฯ ที่ผ่านมาและในอนาคต ทั้งนี้การได้มาร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลักดันและส่งเสริมศักยภาพดิจิทัลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่วิกฤตการณ์โควิดที่ผ่านมา สภาดิจิทัลฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายการดำเนินงาน 5 พันธกิจยุทธศาสตร์หลักของสภาดิจิทัลฯ จนประสบผลสำเร็จ เช่น ความร่วมมือในการขับเคลื่อน Coding แห่งชาติ, โครงการ DCT DIGITAL U  และ การนโยบายส่งเสริมการลงทุนใน Tech Companies รวมทั้งผลักดันการแก้ไขกฎหมาย Catipal Gain Tax เพื่อดึงดูดนักลงทันต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย เป็นต้น”

ประธานสภาดิจิทัลฯ ยังได้กล่าวถึงการพัฒนาไทยสู่อุตสาหกรรม 5.0 ยุคใหม่ ที่ปัจจุบันยังคงต้องการการเข้าถึงข้อมูลและเทคโนโลยีใหม่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาเรื่องของกระบวนการทางความคิด (MINDSET) และกำลังคน ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยอาศัย 7 ปัจจัยพื้นฐานในการสร้างระบบนิเวศน์ที่แข็งแกร่ง ไม่ว่าจะเป็นงบลงทุนจากภาครัฐ ด้านเทคโนโลยีและงานวิจัย เน้นการส่งเสริมและผลักดันสตาร์ทอัพทางเทคโนโลยี (TECH STARTUP) ไปจนถึงการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศ (CENTER OF EXCELLENT) หรือส่งเสริมให้เกิดมหาวิทยาลัยที่เน้นลงทุนด้านหลักสูตรการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี (SCHOOL OF TECHNOLOGY) เป็นหลัก ไปจนถึงการดึงนักวิทยาศาสตร์, สตาร์ทอัพทางเทคโนโลยีจากทั่วโลก รวมทั้งการบริษัทหรือหน่วยงานชั้นนำของโลก เข้ามาจัดตั้งศูนย์วิจัยพัฒนาโดยอาศัยประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง อันจะนำไปสู่โอกาสในการพัฒนาระบบการศึกษาไทยให้ทัดเทียมและเท่าทันต่างประเทศในอนาคตอีกด้วย อย่างไรยังคงมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่ดีในการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและหนึ่งในศูนย์กลางของเอเชียใน 4 ด้านหลัก ไม่ว่าด้านคอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์, แบตเตอรี่ และพลังงานสะอาด นำไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยี 4.0 (TECHNOLOGY HUB 4.0) อย่างเเท้จริง โดยเฉพาะการเกิดโครงการรถไฟไทย-จีน ทำให้เกิดการต่อยอดความเป็นผู้นำของไทยในอีก 3 ด้านหลัก ทั้งศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ (LOGISTIC HUB), ศูนย์กลางด้านการค้า (TRADE HUB)  และ ศูนย์กลางด้านการเงิน (FINANCIAL HUB)  อีกทั้งควรมุ่งเน้นในเรื่องการเกษตรและอาหารในตลาด จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เป็นต้น

ขอขอบคุณสภาดิจิทัลฯ เป็นอย่างสูงที่เปิดโอกาสให้ทางคณะกรรมาธิการ การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชม รับฟังข้อมูลการดำเนินงานของสภาดิจิทัลฯ โดยเฉพาะได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล มุมมองและแนวทาง เพื่อที่ทางภาครัฐจะได้เป็นข้อมูลนำไปผสมผสานเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตก้าวหน้าร่วมกัน ทั้งนี้กระบวนการทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องมาจากการสอดประสานงานที่ดีระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ดังนั้นการเยี่ยมชมสภาดิจิทัลฯ ในครั้งนี้ ทำให้เห็นภาพและความเข้าใจที่ตรงกันในการเดินหน้าผลักดันและส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยให้เติบโตและยั่งยืนต่อไปร” พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม  วุฒิสภา กล่าวตอนท้าย