news
“สภาดิจิทัลฯ” จัดประชุมออนไลน์คณะกรรมการ ถกข้อคิดเห็นต่อ แนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารองค์กร (AI Governance Guideline for Executives) ยกระดับมาตรฐานการใช้งาน AI อย่างเป็นรูปธรรม
15 Aug 2023

วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา “คณะกรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย” จัดประชุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ แนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารองค์กร (AI Governance Guideline for Executives) มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการกำกับดูแลภาพรวม โดยไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย อีกทั้งเป็นการนำเสนอแนวปฏิบัติตามสากลและตัวอย่าง เพื่อให้การประยุกต์ใช้ AI บรรลุตามเป้าหมายที่กาหนด และมีความรับผิดชอบ โดยมีขอบเขตและข้อจำกัดของคู่มือ ประกอบด้วย การไม่ระบุประเภทของเทคโนโลยี AI และประเภทขององค์กรที่นำแนวปฏิบัตินี้ไปใช้ ควรพิจารณาปรับใช้ตามความเหมาะสมตามบริบทการประยุกต์ใช้ AI ความสอดคล้องตามจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Ethics Principles) และ กฎหมายและข้อกำหนด (Laws and Regulations) รวมถึงการคำนึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความเสี่ยงในด้าน อาชีวอนามัย และความปลอดภัย เป็นต้น โดยสภาดิจิทัลฯ จะรวบรวมข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการสภาฯ นำเสนอต่อสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) เพื่อพิจารณาต่อไป


การประชุมระดมความคิดเห็นต่อแนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารองค์กร (AI Governance Guideline for Executives) มีประเด็นรับฟังความคิดเห็นประกอบด้วย 1) โครงสร้างองค์กรที่สนับสนุนธรรมาภิบาลในการประยุกต์ใช้ AI 2) กำหนดกลยุทธ์การประยุกต์ใช้ AI และการบริหารจัดการความเสี่ยง 3) กำกับดูแลการปฏิบัติงานและให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ AI และ 4) ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


ทั้งนี้ คณะกรรมการสภาดิจิทัลฯ ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ เช่น การพิจารณาคู่มือที่ควรระบุถึงข้อมูลการละเมิดหรือความเสี่ยงในด้านทรัพย์สินทางปัญญา ในมุมมองของ AI Service ที่องค์กรนำไปใช้ในการผลิต Content เช่น AI Generative ต่างๆ หรือการใช้ Chat GPT ในการ Generate ในส่วนของ Headline Logo และ Marketing Material เป็นต้น โดยเน้นเพียง AI ที่เป็น Internal Use ควรจะมีเพิ่มเติมในส่วนของ External Outsourcing AI ซึ่งมีผลในเรื่องของความเสี่ยง โดยจะต้องใช้งานให้ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล และ การพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการละเมิด PDPA และ IT Copyright นำไปสู่การที่ Data รั่วไหลได้ รวมถึงความชัดเจนขององค์กรที่เป็นผู้ใช้งานว่ามีความครอบคลุมและรับผิดชอบในส่วนใดบ้าง เป็นต้น