ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชด้าริ โดย นายศุภชัย ได้กล่าวถึงก้าวแรกในการสร้างความยั่งยืน ต้องเริ่มจากการตระหนักรู้ เพราะถ้าองค์กร ผู้นำ พนักงานไม่เกิดการตระหนักรู้จะไม่เกิดการเริ่มต้นโครงการแก้ไข รักษาสิ่งแวดล้อม โดยสามารถเริ่มต้นสร้างความยั่งยืนได้ง่ายๆ จากหน่วยเล็กๆ ก่อน คือ ที่บ้าน ขยายต่อไปยังองค์กร ประเทศของตัวเอง นอกจากนี้ ยังต้องมีการสร้างโอกาสความเสมอภาค เพื่อลดความ เหลื่อมล้ำทางสังคม อีกด้านหนึ่งที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืน
ที่สำคัญภาคเอกชนยังคงมีบทบาทในการเชื่อมระหว่าง 2 โลกเข้าหากัน คือ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการปฏิบัติ ตามที่ตลาดต้องการ ดังนั้นจะเห็นว่าข้อมูลทั้งสองด้าน ทำให้มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาในสังคม ทั้งนี้ บทบาทไม่ใช่เฉพาะการ ทำซีเอสอาร์ (CSR) แต่ภาคเอกชนสามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง แก้ปัญหาระดับโลกใน 4 ด้านดังนี้ 1. ภาวะโลกร้อน (global warming) ที่ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นทุกปี โดยคาดการณ์ว่า หากบวกเพิ่มอีก 10% ส่งผลทำให้สัตว์โลกจะหายไป 16% นั่น รวมถึงตัวมนุษย์เองด้วย 2. ตั้งเป้าการบรรลุสถานะของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (net-zero carbon) 3. ขยะเหลือศูนย์ (zero waste) 4. ความเสมอภาค (human right) โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา ซึ่งเมื่อภาคธุรกิจเริ่มตั้งเป้าใน 4 ประเด็นข้างต้น ก็สามารถที่จะขยับและเดินหน้าไปก้าวถัดไปได้เอง
นายศุภชัย กล่าวตอนท้ายอีกว่า หากภาคเอกชนสนับสนุน ขับเคลื่อน และมองเป้าหมายความยั่งยืนควบคู่กัน จะช่วยโลกได้มาก นอกจากนี้ สื่อก็มีความสำคัญในการเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่สอดแทรกการส่งเสริมความยั่งยืน เพื่อสร้างการตระหนักรู้กับ กลุ่มเป้าหมายทุกช่วงอายุได้อีกทางหนึ่ง