สภาดิจิทัลฯ ได้จัด Clubhouse ในประเด็น “ตามหายูนิคอร์นแรกของไทย ทำอย่างไรให้สำเร็จ” เพื่อเปิดเวทีให้ผู้คร่ำหวอดในวงการสตาร์ทอัพไทย ได้ร่วมพูดคุยและร่วมแชร์ แนวทาง และนโยบายในการผลักดันให้เกิดยูนิคอร์นแรกในประเทศไทย เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียนด้าน Tech Startup โดยสรุปเนื้อหาสาระดีๆ จากห้อง Clubhouse สำหรับคนที่ฟังไม่ทันหรืออาจจะพลาดโอกาสไปได้มีส่วนร่วมกับบทเสวนานี้ไปด้วยกัน
วันเวลา : วันจันทร์ที่ 8 มี.ค. 2564 เวลา 18.00 น.
เปิดวงสนทนาโดย :
# ความสำคัญของยูนิคอร์นในมุมมองของสภาดิจิทัล
ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ :
ยูนิคอร์น คือ Startup ที่ประสบความสำเร็จมากๆ มีมูลค่า 30,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยของเรายังไม่มี จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องมียูนิคอร์น ซึ่งจะก่อให้เกิดการมีธุรกิจที่ดี เป็นการรักษาไว้ซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทย
# จำเป็นไหมที่จะต้องเป็นยูนิคอร์น ?
คุณฤทัย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center เมืองไทยประกันชีวิต :
อยากให้โฟกัสที่การสร้าง Ecosystem ที่เหมาะสมกับการเติบโตของธุรกิจ ยูนิคอร์นเป็นเพียง Symbol และอยากจะให้โฟกัสไปที่ Macro มากกว่า
นายรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO บริษัท คิว คิว (ประเทศไทย) จำกัด :
Startup เป็นคนตัวเล็กที่มาสร้างเทคโนโลยีและยึดครองตลาดที่กลุ่ม Corporate มองไม่เห็น แต่หากเราจะขยายตลาดไปให้ถึงต่างประเทศต้องมีเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญ เมื่อ Startup เริ่มยึดครองตลาดก็จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ
ดร.ธเนศ โสรัตน์ กรรมการสภาดิจิทัลฯ :
Ecosystem ที่เอื้อต่อความอยู่รอดและเติบโตของ Startup ยกตัวอย่างกฎหมายไทยในปัจจุบันยังไม่มีการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัล ดังนั้นหากจะต้องลำดับความสำคัญจึงมองว่า Ecosystem ที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก
คุณนนทวัตต์ สาระมาน กรรมการสภาดิจิทัลฯ :
ทำอย่างไรให้ Startup ไทยได้มีเวทีในการลงเล่นดังนั้น Ecosystem จึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาให้มียูนิคอร์น เนื่องจากธุรกิจสมัยใหม่จะเติบโตผ่านดิจิทัล ถ้าไทยไม่เปลี่ยนแนวความคิดจากผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาเราก็จะเหมือนติดกับดัก
# Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เกิดยูนิคอร์นในมุมมองของสภาดิจิทัลฯ
ดร. ณวัฒน์ คำนูณวัฒน์ ผู้ดูแลโครงการพันธกิจ ศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค สภาดิจิทัลฯ :
Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เกิดยูนิคอร์น ได้แก่
ไทยมี Startup อยู่เพียง 1-2,000 ราย ในขณะที่ สิงคโปร์และอินโดนีเซียมี Startup อยู่ 50,000 ราย และ 5,000 ราย ตามลำดับ เมื่อมองดูบริบทของภูมิภาคสิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยแต่จากจำนวน Startup นี้ชี้ให้เห็นว่าไทยยังตามหลังคู่แข่งอยู่ไกลมาก
# Startup กับ SME แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? รัฐควรให้การสนับสนุนแตกต่างกันหรือไม่ ?
คุณอรดา วงศ์อําไพวิทย์ ผู้ช่วยประธานฯ และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายสภาฯ :
ส่วนใหญ่ภาครัฐมองว่า Startup กับ SME ยังแยกจากกันไม่ออก หลายครั้ง กฎหมาย SME ถูกรวมไว้ในกลุ่ม Startup ไปด้วย
คุณฤทัย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center เมืองไทยประกันชีวิต :
Startup มีเรื่องของความเสี่ยงและผลตอบแทนเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างสูง กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆจำเป็นจะต้องมีการจัดทำให้เหมาะสมอย่างชัดเจนระหว่าง กับ SME หรือ Startup เนื่องจากมีข้อจำกัด และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต :
Startup กับ SME ต่างกันตรงที่ Startup จะใช้เทคโนโลยีที่ตัวเองผลิตขึ้นมาเพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถของตนเองในการแข่งขันและพัฒนากิจการ
# มีความจำเป็นหรือไม่ที่กฎหมายหรือนโยบายควรที่จะกำหนดรายละเอียดขึ้นเฉพาะในส่วน Startup?
นายรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO บริษัท คิว คิว (ประเทศไทย) จำกัด :
Startup กับ SME มีแนวทางที่แตกต่างเกี่ยวกับ Scalability และ Repeatability โดย Startup ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนากิจการ ดังนั้นการขยายกิจการของทั้ง Startup และ SME จะมีความแตกต่างกัน จึงมีการกำหนดกฎระเบียบที่แยกกันอย่างชัดเจน
# หากจะต้องสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนากิจการ Startup ปัจจัยในข้อใดมีความสำคัญเป็นอันดับแรกที่จะมีผลต่อการพัฒนาธุรกิจ Startup
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต :
ประเทศไทยควรจะมีการแก้กฎหมายที่น่าตื่นเต้นมากขึ้น เช่น การทำ smart visa การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ทั้งนักลงทุนและ Startup เป็นต้น
คุณภีม เพชรเกตุ Founder and CEO PeakEngine.com :
ธุรกิจ Startup มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงดังนั้นแหล่งเงินทุนจะต้องมาจากผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงนี้ได้ ข้อจำกัดนี้ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมแบบปกติได้ จึงมองว่าเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตของ Startup นอกจากนี้การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแหล่งเงินทุนพร้อม จะทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในประสิทธิภาพในตลาดทุน ส่งผลให้สามารถวางกลยุทธ์ระยะยาวได้
# ตามหายูนิคอร์นแรกของไทย ทำอย่างไรให้สำเร็จ
คุณนนทวัตต์ สาระมาน กรรมการสภาดิจิทัลฯ :
รัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้าง ให้โอกาสผลิตภัณฑ์จาก Startup ไทยได้มีเวทีสำหรับการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมเกี่ยวกับทุนในการขึ้นบัญชีนวัตกรรมให้แก่ Startup ให้มากขึ้น
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต :
ไทยต้องมีแนวคิดแบบ global citizen มองไปยังตลาดต่างชาติด้วย และรัฐเองก็ต้องมี mindset ที่อยากจะช่วยเหลือ Startup ไทยจริงๆ