รายงาน
สรุปข้อคิดเห็นจาก Clubhouse ในประเด็น “Skill ที่ตลาดต้องการในยุคดิจิทัล”
5 เม.ย. 2564

สภาดิจิทัลฯ ได้จัด Clubhouse ในประเด็น “Skill ที่ตลาดต้องการในยุคดิจิทัล” เพื่อเปิดเวทีให้ผู้ที่สนใจมาร่วมฟัง ร่วมแชร์กับ ทักษะและอาชีพที่มีความต้องการสูงในปัจจุบันและอนาคต และเตรียมพร้อมก้าวไปในอาชีพสายงานที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล โดยสภาดิจิทัลฯ ได้สรุปเนื้อหาสาระดีๆ จากห้อง Clubhouse เพื่อแบ่งปันความรู้สำหรับคนที่ฟังไม่ทันหรืออาจจะพลาดโอกาสไปได้มีส่วนร่วมกับบทเสวนานี้ไปด้วยกัน

วันเวลา : วันอังคารที่ 16 มี.ค. 2564 เวลา 16.00 น.

เปิดวงสนทนาโดย :

  1. คุณเขมนรินทร์ รัตนาอัมพวัลย์ รองประธานและประธานพันธกิจด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สภาดิจิทัลฯ
  2. ดร.เมธวิน กิติคุณ กรรมการสภาดิจิทัลฯ
  3. คุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลฯ
  4. ดร. อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ
  5. คุณอรดา วงศ์อำไพวิทย์ ผู้ช่วยประธานสภาดิจิทัลฯ และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายสภาดิจิทัลฯ
  6. ดร.พรชัย มงคลวนิช นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ (สสอท.)
  7. รศ.ดร. ดนุวศิน เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  8. รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง
  9. ดร. ผาณิต เสรีบุรี CEO บริษัท บางกอก อินโนเวชั่น เฮ้าส์ จำกัด

-------------------------------------------------------------


คุณเขมนรินทร์  รัตนาอัมพวัลย์ รองประธานสภาดิจิทัลฯ :

“การปูพื้นฐานการให้ความรู้ความพร้อมตั้งแต่ในสถานศึกษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง”

  • พื้นฐานในการ Reskill Upskill แยกเป็นสองเรื่องสำคัญ ได้แก่ Soft Skill ควรเพิ่มลงไปในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อม เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ การเป็นผู้นำ และทักษะในการจัดการอารมณ์อย่างเหมาะสม และในส่วนของ Hard Skill ซึ่งเชื่อว่าแต่ละสถาบันมีการเตรียมความพร้อมมากพออยู่แล้ว


ดร.เมธวิน  กิติคุณ กรรมการสภาดิจิทัลฯ :

  • ในฐานะที่เป็น Google’s Partner ขอแชร์ในสิ่งที่องค์กรมองหา ได้แก่
  1. ออกแบบ User Experience : คิดได้รอบด้าน ทำอะไร เพื่อใคร ผู้ใช้จะรู้สุกอย่างไร ทักษะนี้นำไปใช้ในการทำงานได้ทุกด้าน
  2. Tech savvy : ทำให้เราตามโลกได้ทัน นำมาใช้ในการทำงาน และสอดคล้องกับ Lifelong Learning
  3. Entrepreneur ship : คิดรอบด้านแบบเจ้าของกิจการ จัดการทรัพยากรอย่างชาญฉลาด

 

คุณปฐม อินทโรดม กรรมการสภาดิจิทัลฯ :

“คนที่ทำงานในบริษัทส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ สิ่งเหล่านี้สะท้อนว่าไทยยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านอยู่มาก”

  • ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในด้าน Process Management, Operation และ Digital Marketing
  • ทักษะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง Adaptive Skill การนำความรู้ความสามารถมาปรับใช้กับการทำงาน


ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ :

  • Skill ที่ตลาดต้องการในยุคดิจิทัล ต้องเริ่มมองจากมุมความต้องการของตลาด แล้วจึงมองย้อนกลับมาว่าควรมีการจัดการศึกษาอย่างไรให้ตรงต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน
  • ปัจจุบัน การเข้ามาของดิจิทัล และสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการทำงานของผู้คน นำไปสู่ความจำเป็นที่จะต้องให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อให้สามารถปรับตัวและ รับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
  • รูปแบบการศึกษาของไทยต้องเลือกแผนการเรียนตั้งแต่ ม.4 ซึ่งเป็นการตีกรอบสายงานในอนาคตให้แคบลง ดังนั้นเราอาจจะต้องกลับมาทบทวนเกี่ยวกับรูปแบบ และระบบการศึกษาว่าจำเป็นจะต้องปรับปรุงส่วนใดบ้างเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน
  • สภาดิจิทัลฯ ได้ดำเนินการร่วมกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในด้านของ Hard Skill ให้แก่คนไทย
  • คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เป็นคนไทยยังมีน้อยมาก ไทยยังต้องจ้างคนเก่งๆ จากต่างประเทศอยู่มาก การพัฒนาทักษะสำคัญให้กับคนไทยจึงเป็นสิ่งจำเป็น


คุณอรดา วงศ์อำไพวิทย์ ผู้ช่วยประธานสภาดิจิทัลฯ และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายสภาดิจิทัลฯ :

  • มิติของการเริ่มต้นในการเรียนรู้จากบรรทัดฐานในการปลูกฝัง Mindset ซึ่งสำคัญควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะการ Reskill/Upskill ไปพร้อมกัน


ดร.พรชัย มงคลวนิช นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ (สสอท.) :

“ครูต้องเปลี่ยนเป็นโค้ช และการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องมีแค่ในห้องเรียน”

  • จำเป็นต้องมีกลไกที่ทำให้นักศึกษาสามารถเลือกเรียนในเนื้อหาที่ตนสนใจ และ มีโอกาสได้เรียนโดยตรงผ่านผู้รู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้นๆ จากต่างมหาวิทยาลัยได้
  • Critical Thinking ก็เป็นทักษะที่สำคัญ การเรียนการสอนอาจจะต้องเน้นที่การทำ Project ต่างๆ และนับแต่นี้ไปเราอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดว่า เรื่องการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียวแต่ทุกภาคส่วน


รศ.ดร. ดนุวศิน เจริญ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางธุรกิจ  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) :

“หลายๆหลักสูตรเหมือนการคิดกล้องฟิล์มมาขาย ในยุคดิจิทัลต่อให้ทำมาดีแค่ไหนก็ไม่มีทางที่จะขายได้”

  • ความรู้บางอย่างในอดีตไม่สามารถนำมาใช้ในปัจจุบันได้ หลายๆ หลักสูตรหรือใบปริญญา ไม่ได้ตอบโจทย์สำหรับโลกปัจจุบันแล้ว
  • จากเดิมมหาวิทยาลัยเป็นที่กักเก็บ และเผยแพร่ความรู้ แต่ในปัจจุบันเราสามารถใช้สื่อออนไลน์เป็นแหล่งเรียนรู้ได้ด้วย จึงนับว่าเป็นความท้าทายของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
  • เด็กจะต้องมีทักษะในการเรียนรู้อย่างไม่จบสิ้น (Lifelong Learning) เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา การตั้งคำถาม การสืบค้น เข้าถึงข้อมูล การคิดต่าง และการคิดวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคนี้
  • ปัญหาของไทยในปัจจุบันเป็นรูปแบบการเรียนการสอนโดยการ Lecture อยู่ เราควรเปลี่ยนวิธีการสอนเป็นแบบให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของการเรียนรู้
  • ทักษะ Lifelong Learning มีความสำคัญมาก เนื่องจากคนที่เรียนจบแล้วมักจะหยุดการพัฒนาตนเอง ข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆ จึงไม่ถูกอัพเดท กลายเป็นความรู้ที่ล้าหลังและใช้ไม่ได้ในยุคปัจจุบัน


รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง :

  • Hard Skill ที่ต้องการเป็น Skill ที่ส่งเสริมการขยายตัวของดิจิทัลในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ได้แก่ Big Data, Robotic, Material Science และอื่นๆ ที่ไทยยังขาดแคลนอยู่
  • แม้ว่า Hard Skill เป็นความรู้ที่จำเป็นแต่ Soft Skill เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีการสอนควบคู่กันโดยหนึ่งใน Solf Skill คือ การพัฒนาระบบคิด (Strategic Mindset) นอกจากนั้นยังมีทักษะสำคัญ ได้แก่
  1. Humanist Mindset คือ มนุษย์สามารถเป็นตัวกลางของความรู้ และเชื่อในความสามารถของตนเอง
  2. Augmented skill การสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยนำเอาความรู้หรือทรัพยากรที่มีอยู่มาเพิ่มมูลค่าได้
  3. Contextual skill การเข้าใจบริบทรอบตัวทั้งหมด การรู้จักมองภาพใหญ่ และเข้าใจองค์ประกอบทั้งหมดได้
  4. Forward Thinking ความคิดที่ก้าวหน้า ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว
  5. Lifelong Learning โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแปลกแยกระหว่างรุ่น (Generation) ดังนั้น ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงคนแต่ละรุ่นให้รู้จักปรับตัวอยู่เสมอ


ดร. ผาณิต เสรีบุรี CEO บริษัท บางกอก อินโนเวชั่น เฮ้าส์ จำกัด :

  • พื้นฐานของยุค Digital Business มีอยู่หลายด้าน แบ่งเป็น Social media, Mobile, Cloud, Big Data และ IOT รวมถึงทักษะสำคัญ ได้แก่ Lifelong Learning, Entrepreneur ship และ Innovation
  • ปัจจุบันภาคธุรกิจมีความต้องการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะให้แก่พนักงาน ได้แก่ Cloud, Big Data, IOT เนื่องจากผู้ประกอบการมองว่าทักษะเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้พนักงานของตนเองทำงานได้เก่งมากขึ้น
  • เมื่อเราส่งเสริมการพัฒนา Hard Skill ซึ่งเป็นการติดอาวุธแล้ว ในส่วน Soft Skill ก็เป็นสิ่งสำคัญ เราจะต้องทำอย่างไรให้สามารถนำความรู้ความสามารถที่มีไปใช้อย่างถูกต้องและก่อเกิดประโยชน์สูงสุด

-------------------------------------------------------------


สรุป skill-02


สรุป skill-03
ดาวน์โหลดรายงาน
สรุปข้อคิดเห็นจาก Clubhouse ในประเด็น “Skill ที่ตลาดต้องการในยุคดิจิทัล”
ดาวน์โหลด