ข่าวสาร
ประธานสภาดิจิทัลฯ ศุภชัย เจียรวนนท์ นำทีมประชุมออนไลน์คณะกรรมการสภาฯ ครั้งที่ 1/2564 เน้นย้ำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านมาตรการดึงดูดการลงทุน ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีดิจิทัล หวังดันไทยเป็น Hub ของอาเซียน
17 มี.ค. 2564

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสภาดิจิทัลฯ นำโดย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาฯ และนายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ รองประธานและประธานพันธกิจด้านการสร้างความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดให้มีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยการประชุมคณะกรรมการสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1/2564 โดยสาระสำคัญในการประชุมเพื่อรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการ สภาดิจิทัลฯ ชุดที่ 1 ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา รวมถึงการพิจารณาวาระสำคัญ อาทิเช่น การนำเสนอตัวชี้วัดและเป้าหมายของสภาดิจิทัลสำหรับปี 2021, การทบทวนความคืบหน้าของโครงการภายใต้พันธกิจ, การดำเนินการทางกฎหมายของสภาดิจิทัลฯที่ผ่านมา สรุปการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ปี 2563 ถึงปัจจุบัน, การขออนุมัติแหล่งเงินทุนจากภาครัฐ แนวทางปฏิบัติการเข้าร่วมและอบรมหลักสูตรชั้นนำของประเทศในด้านดิจิทัลหรือด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสภาดิจิทัลฯ,  การอนุมัติชำระเงินค่าภาษีป้ายของสภาดิจิทัลฯ การแก้ไขขัอบังคับสภาดิจิทัลฯ เรื่องระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน และค่าบริการสมาชิก รวมทั้งการแต่งตั้งที่ปรึกษาสภาดิจิทัลฯ  เป็นต้น

 messageImage_1616005440621 

messageImage_1616005363389 

ทั้งนี้ในการประชุม นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลฯ ได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันว่า มีแนวโน้มเห็นโอกาสฟื้นตัวได้ประมาณปลายปีนี้  แต่สภาพเศรษฐกิจอาจไม่ดีได้เท่าปี 2019  ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทั่วโลกกำลังดำเนินการอยู่คือ การอัดฉีดเรื่องการลงทุน โดยเฉพาะการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ เพื่อช่วยคนที่อยู่ในภาวะการตกงานอันเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเป็นประโยชน์ในการลงทุนอย่างแท้จริง อีกทั้งมาตรการที่จะก่อให้เกิดการฟื้นฟูและเติบโตอย่างมีความได้เปรียบ คือการทำให้ประเทศไทยมีการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก และยังคงต้องให้ผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ส่งเสริมให้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ให้มีการถดถอยในอนาคต

 
messageImage_1616005520632



messageImage_1616005664105


สำหรับการผลักดันประเทศไทยเพื่อเป็น Hub ของภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยในแต่ละประเทศควรมีการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษขึ้น เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในประเทศไทย หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษอิสกันดาร์ในประเทศมาเลเซีย เป็นต้น เพื่อสร้างความได้เปรียบของการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้เกิดการแข่งขันกันในรอบด้าน ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี การดึงดูดการลงทุน การส่งเสริม Startup การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ (Logistics) และระบบขนส่ง (Transportation) จนนำไปสู่การต่อยอดในเรื่องของทุนและเทคโนโลยี  โดยพันธกิจหลักของสภาดิจิทัลฯ คือการเข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและผลักดันประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็น Hub ในด้านเทคโนโลยี และการขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ Automation ในด้านอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ (Automotive Industry) และ Cloud Technology รวมถึงนวัตกรรมด้าน AI โดยการมุ่งผลักดันการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนที่ประเทศไทย รวมถึงเป็นแหล่งบ่มเพาะเทคโนโลยีข้อมูลด้านดิจิทัล ในขณะเดียวกันยังสามารถให้ Incentive กับผู้ลงทุน และดึงดูด Tech Startup จากทั่วโลกได้อีกด้วย นอกจากนั้น การสร้างความได้เปรียบของประเทศไทย นอกเหนือจากการแข่งขันในเรื่องการดึงดูดการลงทุน ซึ่งประเทศไทยมีเหนือกว่าในแง่ของเศรษฐกิจ นั่นคือการพัฒนา Land Bridge ในภาคใต้และ แนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ซึ่งเชื่อมโยงกับมาเลเซีย โดยจะส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็น Logistic Hub ได้ทันทีเนื่องจากระบบขนส่งของโลกที่เชื่อมโยงระหว่าง 2 มหาสมุทรนี้จะดึงดูดการลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นเราต้องมุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลาง Hub ของภูมิภาคอาเซียน และมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะมีความเจริญรุ่งเรือง และสามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ต่อไปในอนาคต  ประธานสภาดิจิทัลฯ กล่าวในตอนท้าย


messageImage_1616005797276


messageImage_1616005865602