ศูนย์ช่วยเหลือ Startup
ตามหายูนิคอร์นแรกของไทย ทำอย่างไรให้สำเร็จ
19 มี.ค. 2564
สรุปข้อคิดเห็นจาก Clubhouse "ตามหายูนิคอร์นแรกของไทย ทำอย่างไรให้สำเร็จ โดยสภาดิจิทัลฯ"
สภาดิจิทัลฯ ได้จัด Clubhouse ในประเด็น “ตามหายูนิคอร์นแรกของไทย ทำอย่างไรให้สำเร็จ” เพื่อเปิดเวทีให้ผู้คร่ำหวอดในวงการสตาร์ทอัพไทย ได้ร่วมพูดคุยและร่วมแชร์ แนวทาง และนโยบายในการผลักดันให้เกิดยูนิคอร์นแรกในประเทศไทย เพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางภูมิภาคอาเซียนด้าน Tech Startup โดยสรุปเนื้อหาสาระดีๆ จากห้อง Clubhouse สำหรับคนที่ฟังไม่ทันหรืออาจจะพลาดโอกาสไปได้มีส่วนร่วมกับบทเสวนานี้ไปด้วยกัน
วันเวลา : วันจันทร์ที่ 8 มี.ค. 2564 เวลา 18.00 น.
เปิดวงสนทนาโดย :
1. คุณนนทวัตต์ สาระมาน กรรมการสภาดิจิทัลฯ
2. ดร.ธเนศ โสรัตน์ กรรมการสภาดิจิทัลฯ
3. ดร. อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ
4. คุณอรดา วงศ์อำไพวิทย์ ผู้ช่วยประธานสภาดิจิทัลฯ และหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย สภาดิจิทัลฯ
5. ดร. ณวัฒน์ คำนูณวัฒน์ ผู้ดูแลโครงการพันธกิจ ศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค สภาดิจิทัลฯ
6. นายรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO บริษัท คิว คิว (ประเทศไทย) จำกัด
7. คุณภีม เพชรเกตุ Founder and CEO PeakEngine.com
8. คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต
9. คุณฤทัย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center เมืองไทยประกันชีวิต
# ความสำคัญของยูนิคอร์นในมุมมองของสภาดิจิทัล
ดร.อธิป อัศวานันท์ ผู้อำนวยการสภาดิจิทัลฯ :
ยูนิคอร์น คือ Startup ที่ประสบความสำเร็จมากๆ มีมูลค่า 30,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยของเรายังไม่มี จึงเป็นที่มาว่าทำไมต้องมียูนิคอร์น ซึ่งจะก่อให้เกิดการมีธุรกิจที่ดี เป็นการรักษาไว้ซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนชาวไทย
.
# จำเป็นไหมที่จะต้องเป็นยูนิคอร์น ?
คุณฤทัย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center เมืองไทยประกันชีวิต :
อยากให้โฟกัสที่การสร้าง Ecosystem ที่เหมาะสมกับการเติบโตของธุรกิจ ยูนิคอร์นเป็นเพียง Symbol และอยากจะให้โฟกัสไปที่ Macro มากกว่า
.
นายรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO บริษัท คิว คิว (ประเทศไทย) จำกัด :
Startup เป็นคนตัวเล็กที่มาสร้างเทคโนโลยีและยึดครองตลาดที่กลุ่ม Corporate มองไม่เห็น แต่หากเราจะขยายตลาดไปให้ถึงต่างประเทศต้องมีเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญ เมื่อ Startup เริ่มยึดครองตลาดก็จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ
.
ดร.ธเนศ โสรัตน์ กรรมการสภาดิจิทัลฯ :
Ecosystem ที่เอื้อต่อความอยู่รอดและเติบโตของ Startup ยกตัวอย่างกฎหมายไทยในปัจจุบันยังไม่มีการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัล ดังนั้นหากจะต้องลำดับความสำคัญจึงมองว่า Ecosystem ที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก
.
คุณนนทวัตต์ สาระมาน กรรมการสภาดิจิทัลฯ :
ทำอย่างไรให้ Startup ไทยได้มีเวทีในการลงเล่นดังนั้น Ecosystem จึงเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาให้มียูนิคอร์น เนื่องจากธุรกิจสมัยใหม่จะเติบโตผ่านดิจิทัล ถ้าไทยไม่เปลี่ยนแนวความคิดจากผู้ใช้เป็นผู้พัฒนาเราก็จะเหมือนติดกับดัก
.
# Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เกิดยูนิคอร์นในมุมมองของสภาดิจิทัลฯ
ดร. ณวัฒน์ คำนูณวัฒน์ ผู้ดูแลโครงการพันธกิจ ศูนย์กลางนวัตกรรมระดับภูมิภาค สภาดิจิทัลฯ :
Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนาให้เกิดยูนิคอร์น ได้แก่
การสนับสนุน Startup ทำอย่างไรให้เกิดการถ่ายเทความรู้-นวัตกรรม
การดึงดูดและพัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนา Startup และผลิตภัณฑ์ต่างๆ
การดึงดูดการลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
กฎระเบียบ และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เอื้อไปสู่การพัฒนา Startup
การคิดค้นนวัตกรรมเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆ ให้เกิดนวัตกรรมของตนเอง
ไทยมี Startup อยู่เพียง 1-2,000 ราย ในขณะที่ สิงคโปร์และอินโดนีเซียมี Startup อยู่ 50,000 ราย และ 5,000 ราย ตามลำดับ เมื่อมองดูบริบทของภูมิภาคสิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยแต่จากจำนวน Startup นี้ชี้ให้เห็นว่าไทยยังตามหลังคู่แข่งอยู่ไกลมาก
.
# Startup กับ SME แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร? รัฐควรให้การสนับสนุนแตกต่างกันหรือไม่ ?
คุณอรดา วงศ์อําไพวิทย์ ผู้ช่วยประธานฯ และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายสภาฯ :
ส่วนใหญ่ภาครัฐมองว่า Startup กับ SME ยังแยกจากกันไม่ออก หลายครั้ง กฎหมาย SME ถูกรวมไว้ในกลุ่ม Startup ไปด้วย
.
คุณฤทัย สุทธิกุลพานิช Head of Fuchsia Innovation Center เมืองไทยประกันชีวิต :
Startup มีเรื่องของความเสี่ยงและผลตอบแทนเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างสูง กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆจำเป็นจะต้องมีการจัดทำให้เหมาะสมอย่างชัดเจนระหว่าง กับ SME หรือ Startup เนื่องจากมีข้อจำกัด และความเสี่ยงที่แตกต่างกัน
.
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต :
Startup กับ SME ต่างกันตรงที่ Startup จะใช้เทคโนโลยีที่ตัวเองผลิตขึ้นมาเพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถของตนเองในการแข่งขันและพัฒนากิจการ
.
# มีความจำเป็นหรือไม่ที่กฎหมายหรือนโยบายควรที่จะกำหนดรายละเอียดขึ้นเฉพาะในส่วน Startup?
นายรังสรรค์ พรมประสิทธิ์ CEO บริษัท คิว คิว (ประเทศไทย) จำกัด :
Startup กับ SME มีแนวทางที่แตกต่างเกี่ยวกับ Scalability และ Repeatability โดย Startup ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนากิจการ ดังนั้นการขยายกิจการของทั้ง Startup และ SME จะมีความแตกต่างกัน จึงมีการกำหนดกฎระเบียบที่แยกกันอย่างชัดเจน
.
# หากจะต้องสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการพัฒนากิจการ Startup ปัจจัยในข้อใดมีความสำคัญเป็นอันดับแรกที่จะมีผลต่อการพัฒนาธุรกิจ Startup
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต :
ประเทศไทยควรจะมีการแก้กฎหมายที่น่าตื่นเต้นมากขึ้น เช่น การทำ smart visa การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ทั้งนักลงทุนและ Startup เป็นต้น
.
คุณภีม เพชรเกตุ Founder and CEO PeakEngine.com :
ธุรกิจ Startup มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงดังนั้นแหล่งเงินทุนจะต้องมาจากผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงนี้ได้ ข้อจำกัดนี้ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการกู้ยืมแบบปกติได้ จึงมองว่าเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตของ Startup นอกจากนี้การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแหล่งเงินทุนพร้อม จะทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในประสิทธิภาพในตลาดทุน ส่งผลให้สามารถวางกลยุทธ์ระยะยาวได้
.
# ตามหายูนิคอร์นแรกของไทย ทำอย่างไรให้สำเร็จ
คุณนนทวัตต์ สาระมาน กรรมการสภาดิจิทัลฯ :
รัฐต้องเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการจัดซื้อจัดจ้าง ให้โอกาสผลิตภัณฑ์จาก Startup ไทยได้มีเวทีสำหรับการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงส่งเสริมเกี่ยวกับทุนในการขึ้นบัญชีนวัตกรรมให้แก่ Startup ให้มากขึ้น
.
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต :

ไทยต้องมีแนวคิดแบบ global citizen มองไปยังตลาดต่างชาติด้วย และรัฐเองก็ต้องมี mindset ที่อยากจะช่วยเหลือ Startup ไทยจริงๆ