มาตรการการยกเว้น Capital Gains Tax เป็นมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ซึ่งประการลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีผลบังคับใช้เป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2575 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรจากการขายหุ้น Startup ไทย แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ภายใต้ 14 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
หลักเกณฑ์การยกเว้นภาษี Capital Gains Tax เบื้องต้น สำหรับสตาร์อัป (Startup)
1. ธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีและต้องประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่รัฐบาลกำหนด
2. ธุรกิจต้องมีรายได้อย่างน้อย 80% จากอุตสาหกรรมเป้าหมายใน 2 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนขาย
3. ธุรกิจต้องถูกรับรองโดย NIA หรือ สวทช. หรือ depa
หลักเกณฑ์การยกเว้นภาษี Capital Gains Tax เบื้องต้น สำหรับนักลงทุน
1. ให้สิทธิกับนักลงทุนโดยตรง และผู้ที่ลงทุนผ่านธุรกิจเงินร่วมลงทุน ทั้งหมดนี้เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลทั้งในไทย และต่างประเทศก็ได้
2. ต้องถือหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่า 24 เดือน
3. หากเป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ PE Trust ไทย ต้องมีทุนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท และจดแจ้งกับ ก.ล.ต.
สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่นักลงทุนจะได้รับ
1. การลงทุนโดยตรง
หมา่ยถึง การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตามซึ่งรวมถึง VC ต่างชาติ และ PE Trust ต่างชาติ ลงทุนใน Startup ไทย
2. การลงทุนผ่านบริษัท CVC หรือ PE Trust ไทย
หมายถึง บุตตลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ลงทุนผ่านบริษัทซึ่งประกอบการเงินร่วมลงทุน (CVC) หรือถือหน่วยงหน่วยทรัสต์ในทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (PE Trust) ที่จดแจ้งกับสำนักงาน ก.ล.ต. อาจได้รับกำไรจากการโอนหุ้นของ CVC หรือการโอนหน่วยทรัสต์ของ PE Trust ไทย จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้เช่นกัน
หากลงทุนใน Startup และก่อให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดใน 2 รอบระยะเวลาบัญชีติดต่อกัน จะได้รับการยกเว้นภาษีตามสัดส่วนของการลงทุน
หากลงทุนใน Startup และก่อให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดใน 2 รอบระยะเวลาบัญชีติดต่อกัน จะได้รับการยกเว้น๓าษีทั้งหมด
หากลงทุนใน Startup และก่อให้เกิดรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดใน 2 รอบระยะเวลาบัญชีติดต่อกัน จะได้รับการยกเว้นภาษีตามสัดส่วนของการลงทุน
ในส่วนของ Startup ต้องได้รับการรับรองจาก NIA หรือ สวทช. หรือ depa อยู่ในระหว่างรอข้อมูล กระบวนการยื่นขอรับรอง, ช่องทางการยื่นขอรับรอง, เอกสารที่ต้องใช้
อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ได้รับสิทธิ์มีกลุ่มใดบ้าง
อุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามที่คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกาศกำหนดอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ
4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
5. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
7. อุตสาหกรรมการบิน
8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
9. อุตสาหกรรมดิจิทัล
10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
11. อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
12. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยตรงและมีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
13. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย
14. อุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามที่คณะกรรมการนโยบายให้ความเห็นชอบ
ที่มา : ประกาศคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ 1/2561
การจดแจ้งสำหรับ VC/PE Trust ไทย เพื่อใช้สิทธิยกเว้น Capital Gains Tax ของ ก.ล.ต.
ขั้นตอนการจดแจ้งสำหรับ VC/PE Trust ไทย
VC คือ "บริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน" หมายความว่า บริษัทซึ่งประกอบกิจการ เงินร่วมลงทุนตามที่พระราชกฤษฏีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 750) พ.ศ. 2565 กำหนด
PE Trust คือ "ทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน" หมายความว่า ทรัสต์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประกอบกิจการเงินร่วมลงทุนตามกฏหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน
หลักเกณฑ์และขั้นตอน เบื้องต้น
1. ต้องเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทยที่ประสงค์เป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (VC) และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (PE Trust) ที่มีมูลค่าเงินทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ตาม พ.ร.ฏ (ฉบับที่ 750) พ.ศ. 2565
2. ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องตามคำขอจดแจ้งต่อ สำนักงาน ก.ล,ต. ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ และส่งผ่านระบบ E-submission
3. ก.ล.ต. แจ้งผลยืนยันทาง E-mail ใช้ระยะเวลา 1 วัน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ : แนวปฏิบัติการจดแจ้งการเป็นบริษัทซึ่งประกอบกิจการเงินร่วมลงทุน (VC) และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (PE Trust)
เกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับรอง Startup เพื่อให้สิทธิยกเว้น Capital Gains Tax ของ สวทช.
รับรองกิจการที่รัฐต้องการสนับสนุนตาม พรฏ. 750 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเพื่อส่งเสริมการลงทุนในบริษัทเป้าหมาย
คุณสมบัติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะยื่นขอรับรอง
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนส่วนนิติบุคคลยื่นคำขอรับรองฯ พร้อมเอกสารประกอบแบบคำขอรับรองฯ ได้แก่
ค่าธรรมเนียมการขอรับรองบริษัทเป้าหมาย
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.nstda.or.th/tei/service/startup-2.html
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม : https://www.nstda.or.th/tei/download.html
เกณฑ์การขึ้นทะเบียนรับรอง Digital Startup เพื่อใช้สิทธิยกเว้น Capital Gains Tax ของ depa
การรับรองบริษัทเป้าหมายซึ่งประกอบกิจการด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลที่รัฐต้องการสนับสนุน ตาม พ.ร.ฏ 750 ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรเพื่อส่งเสริมการลงทุนในบริษัทเป้าหมาย
คุณสมบัติของ Digital Startup ในการขึ้นทะเบียนกับ depa
1. ใช้เทคโนโลยีและประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐกำหนด และเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล
2. รายได้ 80% ต้องมาจากการใช้เทคโนโลยี
3. ต้องถูกรองรับโดย depa, NIA หรือ สวทช. โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
เอกสารประกอบการพิจารณา
ค่าธรรมเนียมการขอรับรอง
ตัวอย่างใบสมัคร (Line Official : depathailand) คลิกที่นี่
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://www.depa.or.th/th/capitalgaintax
วีดีโองานสัมมนา และ DCT Startup Cilnic ที่เกี่ยวข้องกับมาตราการยกเว้น Capital Gains Tax
DCT Startup Clinic
ตอน สัมมนาออนไลน์ “แนวปฏิบัติสำหรับการยกเว้นภาษี Capital Gains Tax สำหรับผู้ลงทุนใน Startups”
ตอน สัมมนาออนไลน์ “การขึ้นทะเบียนรับรอง Startup เพื่อใช้สิทธิยกเว้น Capital Gains Tax”
ตอน ดึงดูดการลงทุนด้วยการยกเว้น Capital Gains Tax
ตอน การยกเว้น Capital Gains Tax สำหรับ Startup