โครงการ
รายงานตัวชี้วัดสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2022
4 พ.ย. 2565

พันธกิจยุทธศาสตร์ 5 ด้าน DCT

สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (DCT) มีเป้าหมายในการยกระดับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัลไทยก้าวไกลสู่ระดับสากล รวมทั้งยังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมและคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดพันธกิจยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ 

1. กำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดด้านดิจิทัล

2. สร้างความร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

3. พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ด้านดิจิทัล

4. พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

5. เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของภูมิภาค

รวมทั้งยังให้ความสำคัญเพิ่มเติมในด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศชาติอีกด้วย 

ดัชนี KPI ของ DCT

        เพื่อมุ่งสู่ความเป็นดิจิทัลของประเทศไทยนั้น ในแต่ละปีการกำหนดดัชนี KPI (Key Performance Indicators) จึงถือเป็นสิ่งที่จำเป็นในการติดตามการพัฒนาของประเทศตามพันธกิจยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ประการ โดยสภาดิจิทัลฯ ได้พิจารณาเลือกดัชนีวัดความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล โดย IMD (International Institute for Management Development) ที่มีความ เหมาะสมมากที่สุด นำมาเป็นดัชนี KPI ของพันธกิจยุทธศาสตร์ 5 ประการ เพื่อเป็นมาตรฐานและสามารถวัดผลเปรียบเทียบกับ ประเทศอื่นในระดับโลก ได้ นอกจากนี้ ยังมีการนำดัชนีอื่นๆ มาเสริมเพื่อให้มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในทุกมิติสาหรับด้านที่ไม่มีดัชนีสากลชี้วัดจะมีการพัฒนาดัชนีใหม่ขึ้น เพื่อให้มีการติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนาสู่ความเป็นดิจิทัลของประเทศไทยต่อไป 

        เนื่องจากประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจ ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 25 ของโลกจากการจัดอันดับผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) (อ้างอิงจากข้อมูลของธนาคารโลกในปี 2018) ดังนั้น สภาดิจิทัลฯ จึงกำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยอยู่ใน 25 อันดับแรกของแต่ละหัวข้อดัชนี KPI และคาดว่าจะประสบความสำเร็จภายในปี 2025 โดยจะสามารถขึ้นเป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกสำหรับดัชนี KPI ด้านที่เป็น 25 อันดับแรก 

Thailand IMD 2022

Digital ranking in ASEAN

        ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดย IMD ประจำปี 2022 ประเทศไทยมีอันดับที่ลดลงจาก 38 เป็น 40 ของโลกจากทั้งหมด 63 ประเทศ โดยที่คะแนนจากปัจจัยด้านความรู้ (Knowledge) และ ปัจจัยด้านความพร้อมรองรับอนาคต (Future Readiness) มีอันดับที่ลดลง เช่นเดียวกับประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน ในขณะที่อันดับ ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology) มีการปรับอันดับที่สูงขึ้น

        อย่างไรก็ตาม อันดับภาพรวมของประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีการปรับอันดับที่สูงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยและมาเลเซียมีอันดับที่ลดลง เมื่อเทียบกับปี 2021 

ตัวชี้วัดย่อย อุตสาหกรรมดิจิทัลไทย

จากการจัดอันดับของ IMD 2022 จะเห็นได้ว่า 

ผลการจัดอันดับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางด้านดิจิทัล ดังนี้ 

  • งบประมาณด้านการศึกษาของประเทศไทยนั้นดีขึ้น 9 อันดับ 
  • ซึ่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนผู้จบปริญญาดีขึ้น 4 อันดับ
  • สัดส่วนจานวนนักศึกษาต่ออาจารย์ดีขึ้น 1 อันดับ
  • ประสบการณ์นานาชาติ ดีขึ้น 6 อันดับ
  • คะแนนสอบ PISA-Math ดีขึ้น 2 อันดับ
  • อันดับของทักษะดิจิทัลเทคโนโลยี ลดลงไป 3 อันดับ
  • ผู้จบการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ ลดลงไป 20 อันดับ
  • สัดส่วนผู้หญิงที่จบปริญญา ลดลงไป 1 อันดับ 

ผลการจัดอันดับด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนี้ 

  • ในขณะที่ด้านเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น อันดับโดยรวมไม่ได้แตกต่างจากปี 2021
  • โครงสร้างพื้นฐานของไทยมีการพัฒนาขึ้น แต่ยังขาดความยืดหยุ่นใน ธุรกิจดิจิทัล
  • ทั้งนี้จากตัวชี้วัด พบว่า อันดับของการส่งออกสินค้า High-tech ดีขึ้น 1 อันดับ
  • อันดับของการที่องค์กรกลัวความล้มเหลว ดีขึ้น 4 อันดับ
  • อย่างไรก็ตามควรให้ความสำคัญในการเร่งพัฒนาความยืดหยุ่นของ องค์กร ซึ่งมีอันดับลดลงไป 8 อันดับ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ลดลงไป 9 อันดับอีกด้วย 

ผลการจัดอันดับด้านการส่งเสริมนวัตกรรมของไทย ดังนี้ 

  • สำหรับปัจจัยด้านการส่งเสริมนวัตกรรมของไทยมีแนวโน้มดีขึ้น 
  • ค่าใช้จ่าย R&D ดีขึ้น 3 อันดับ
  • การจ้างงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดีขึ้น 3 อันดับ
  • สิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีขั้นสูงดีขึ้น 11 อันดับ
  • แต่ยังมีปัจจัยที่ต้องเร่งพัฒนา ได้แก่ เงินทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ที่ ลดลงไป 14 อันดับ
  • การสนับสนุนจากสถาบันการเงินธนาคาร ลดลงไป 7 อันดับ
  • การเข้าธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital : VC) ลดลงไป 6 อันดับ

        จะเห็นได้ว่า 3 พันธกิจหลักของ DCT ได้แก่ ด้านกำลังคน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และด้านการส่งเสริมนวัตกรรมของไทยควรได้รับการผลักดันและพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในทิศทางที่เหมาะสม เพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ทัดเทียมในระดับอารยประเทศ ซึ่งมีการแข่งขันอย่างสูงในปัจจุบัน

English proficiency Index 2021

ผลการจัดอันดับความชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษของ EF English Proficiency Index 2021 ดังนี้ 

  • อันดับของประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 100 จาก 112 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือเป็นอันดับรั้งท้ายในภูมิภาคอาเซียน
  • การจัดอันดับของปีนี้ ประเทศในอาเซียนมีเพียงประเทศไทยที่มีอันดับที่ลดลง ในขณะที่เมียนม่าอยู่อันดับที่ 93 เช่นเดิม
  • ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนมีอันดับที่ดีขึ้น
  • ผลของการจัดอันดับปีนี้ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดเท่าที่เคย ถูกจัดอันดับมา
  • และยังเป็น 3 ปีติดต่อกันที่ประเทศไทยอยู่ในระดับประเทศความ ชำนาญทางภาษาอังกฤษอยู่ในระดับ ‘ต่ำมาก’ (Very Low Proficiency)
  • จากการเปรียบเทียบกับปีก่อนๆ โดยปี 2019 ประเทศไทยอยู่ใน อันดับที่ 74 จาก 100 ประเทศ
  • และปี 2020 อยู่ในอันดับที่ 89 จาก 99 ประเทศ 

แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยกำลังอยู่ในอันดับการใช้ภาษาอังกฤษที่มีแนวโน้มอันดับลดลงเรื่อยๆ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนา และแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในอุตสาหกรรมดิจิทัล

การเปรียบเทียบระดับความสามารถด้าน ICT

จากข้อมูลระดับทักษะความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร (ICT) จาก The International Telecommunication Union (ITU) พบว่า 

  • ในส่วนของประเทศไทยนั้น บุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลในระดับทั่วไปมี 17.1% ระดับมาตรฐาน 9.5% และระดับสูงมีเพียง 1% เท่านั้น
  • เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศใกล้เคียงอย่าง มาเลเซีย พบว่า ปริมาณบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลสูงมีความแตกต่าง จากไทยอย่างมีนัยสำคัญ
  • จากข้อมูลยังพบว่า มาเลเซีย มีสัดส่วนบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลใน ระดับทั่วไปอยู่ที่ 68.5% ระดับมาตรฐาน 51.6% และระดับสูงที่มีถึง 16.1% ซึ่ง สอดคล้องกับประเทศข้างเคียงอื่น ๆ เช่น อินโดนิเซีย และสิงคโปร์
  • โดยพบว่า อินโดนีเซียมีบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลในระดับทั่วไป 49% ระดับมาตรฐาน 25.3% และระดับสูงที่มี 3.5%
  • ในขณะที่สิงคโปร์ มีบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัลในระดับทั่วไป 52.2% ระดับมาตรฐาน 37.% และระดับสูงที่มี 8.8% ตามลำดับ 

        ดังนั้น จากข้อมูลข้างต้น ประเทศไทยจำเป็นต้องรีบเร่งผลักดัน พัฒนาศักยภาพและทักษะด้าน ICT จึงจะทำให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศ และรองรับอุตสาหกรรมดิจิทัลตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ 

สัดส่วน Digital ต่อ GDP

        ตามคำนิยามของ OECD พบว่าสัดส่วน Digital ต่อ GDP ของประเทศไทย มีสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศชั้นนำของโลก แต่หลายอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยยังอยู่ในภาวะขาดดุลการค้า เนื่องจากประเทศไทยเน้นการนำเข้ามากกว่าการส่งออก 

        สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลใน ประเทศ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

การลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี Startups

        สถานการณ์การลงทุน tech startup ในประเทศไทย ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 14% ในปี 2015 เป็น 3% ในปี 2021 อย่างไรก็ดีถึงจำนวน Startups ในไทยนั้น มีจำนวนน้อยที่สุดหากเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) แต่ประเทศไทยกลับมีจำนวน Unicorns 3 รายเท่ากับประเทศฟิลิปปินส์ ดังนั้น หากเราเดินหน้าสนับสนุนในธุรกิจ Startups อย่างจริงจังทั้ง ในประเด็นการดึงดูดการลงทุน ความสามารถในการพัฒนา Product และการดำเนินธุรกิจแล้ว เชื่อว่าประเทศไทย สามารถเป็นศูนย์กลางด้าน Startups และนวัตกรรมของภูมิภาคได้ 

        DCT จึงได้ทำงานร่วมกับภาครัฐในการผลักดันนโยบายและมาตรการต่าง ๆ โดยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้มีมาตรการจากภาครัฐอย่างน้อย 7 มาตรการที่ช่วยสร้างโอกาสในการเติบโตแก่ Startups ดังนี้

  • ยกเว้นภาษี Capital Gains Tax สาหรับการลงทุนใน Startups 
  • ภาษีเงินได้ 17% สาหรับชาวต่างชาติทักษะสูง
  • ลดหย่อนภาษี 150% เมื่อจ้างงานทักษะอาชีพด้านดิจิทัล
  • ลดหย่อนภาษี 250% เมื่อธุรกิจอบรมบุคลากรทักษะด้านดิจิทัล
  • ลดหย่อนภาษี 200% เมื่อธุรกิจซื้อซอฟท์แวร์ที่ผลิตในประเทศ
  • ตลาดหลักทรัพย์ใหม่สาหรับ SMEs และ Startups (Live Exchange)
  • การระดมทุนด้วยการออกหุ้นในวงจำกัด (Convertible Debt, ESOP) และการระดมทุนผ่านช่องทาง Crowdfunding 

DCT KPIs

** ติดตามข้อมูลจากแหล่งที่มาเพิ่มเติม คลิก !!